มาทำความรู้จัก!! "กีฬาเซปักตะกร้อ" กันเถอะ

        ตะกร้อ หรือ เซปักตะกร้อ เป็นกีฬาความหวังเหรียญทองของประเทศไทยในการแข่งขันกีฬาระดับภูมิภาค หรือทวีปเอเชียอย่างซีเกมส์ และเอเชี่ยนเกมส์ มาอย่างยาวนาน และวันนี้เราจะมารู้จักกับกฎกติกาการเล่น กีฬาเซปักตะกร้อ แบบคร่าว ๆ กันดีกว่า...


        กีฬาตะกร้อ หรือ เซปักตะกร้อ ยังไม่มีหลักฐานระบุที่แน่ชัดว่ามีจุดกำเนิดมาจากประเทศใด เพราะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง ไทย มาเลเซีย พม่า และฟิลิปปินส์ ต่างก็บอกว่าตนเองเป็นต้นกำเนิดขึ้นมาทั้งนั้น แต่สำหรับของไทย มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยานิยมเล่นกันบนลาน กว้าง ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น และลูกตะกร้อทำมาจากหวาย หรือบางทีก็มีเตะตะกร้อลอดห่วง




วิวัฒนาการการเล่น
        การเล่นตะกร้อได้มีวิวัฒนาการในการเล่นมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรกๆ ก็เป็นเพียงการช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้น ต่อมาเมื่อเกิดความชำนาญ และหลีกหนีความจำเจ ก็คงมีการเริ่มเล่นด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่ มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลำดับ จากนั้นก็ตกลงวางกติกาการเล่นโดยเอื้ออำนวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร

ตะกร้อแบ่งออกได้ 8 ประเภท ได้แก่ ตะกร้อวงเล็ก,ตะกร้อวงใหญ่, ตะกร้อเตะทน,ตะกร้อชิงธง,ตะกร้อข้ามตาข่าย,ตะกร้อลอดบ่วง,ตะกร้อพลิกแพลง และเซปักตะกร้อ




วิธีการเล่น
            จะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มเสิร์ฟ เตะข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง โดยที่ฝ่ายที่ได้ลูกตะกร้อต้องพยายามเตะตะกร้อให้ตกลงพื้นของอีกฝั่งให้ได้ ขณะที่ฝ่ายตั้งรับก็ต้องป้องกัน ไม่ให้ลูกตะกร้อตกลงบนแดนตัวเอง และเปลี่ยนสภาพเป็นฝ่ายบุกเพื่อทำให้ลูกตะกร้อตกลงบนแดนของอีกฝั่งให้ได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ แต่ละฝ่ายจะมีโอกาสเตะลูกตะกร้อให้อยู่ในแดนตัวเองไม่เกิน 3 ครั้ง นับตั้งแต่ฝ่ายตรงข้ามเตะตะกร้อข้ามมา  ส่วนการเสิร์ฟ ผลัดกันเสิร์ฟ ทีมละ 3 ครั้ง สลับกันไปเรื่อย ๆ

        และนี่ก็คือประวัติตระกร้อพร้อมกติกาการแข่งขันที่เรานำมาให้อ่าน ซึ่งกว่ากฎกติกาต่าง ๆ จะมาเป็นแบบนี้ก็ผ่านการเปลี่ยนมาหลายรอบมาก เพื่อที่จะทำให้การแข่งขันสนุกขึ้น และมีโอกาสถูกดันเข้าสู่โอลิมปิกเกมส์ในอนาคตต่อไปได้







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สรุปผลการแข่งขันตะกร้อไทยแลนด์ลีก 2020 สัปดาห์ที่ 8

สรุปผลการแข่งขันตะกร้อไทยแลนด์ลีก 2020 สัปดาห์ที่ 6

"สหการ ซุ่ยยัง" สุดยอดขุนพลตะกร้อแห่ง “หมูป่าเขี้ยวตัน” นครปฐม